นายศุภชัย ปทุมนากุล

มรภ. และ มทร. เตรียมความพร้อมที่จะออกนอกระบบ

นายศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ และพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเทคโยโลยีราชมงคล โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้หารือเรื่องการปรับแก้กฎหมายดังกล่าว โดยหลักการสำคัญคือเพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 รวมถึงให้การทำงานของมรภ. และมทร. เกิดความยืดหยุ่น และเหมาะสมกับความเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เหมือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่ออกนอกระบบไปแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องมีพ.ร.บ.ของตนเอง และที่สำคัญคือ ต้องการแก้ปัญหาเรื่องธรรมภิบาลในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นปํญหาที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน

ทั้งนี้การดำเนินการทั้งหมด ยังไม่ได้มีการลงรายละเอียดอะไรมากนัก เพราะเพิ่งเริ่มประชุม และคิดว่า ไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ แต่เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรอเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่ได้พิจารณา

“ขณะนี้ยังเป็นการคุยกันเรื่องคอนเซ็ปต์ ซึ่งทราบว่า มรภ. และมทร. หลายแห่งเตรียมความพร้อมที่จะออกนอกระบบ หากมีกฎหมายฉบับนี้แล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็นม.ในกำกับรัฐ เพราะเป้าหมายการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ จะเป็นส่วนผสม ระหว่างม.ในกำกับ กับมหาวิทยาลัยรัฐ ซึ่งจะนำข้อดี ข้อเสีย มาผนวกรวมกัน เพื่อให้เป็นกฎหมายที่มีความทันสมัยและใช้ได้จริง ” รองปลัดอว. กล่าว

นายสมหมาย ผิวสอาด

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า สำหรับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในระหว่างยกร่างกฎหมายเพื่อเปลี่ยนสถานะไปเป็นม.ในกำกับรัฐ ยังสามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น ทางคณะกรรมการฯ ยังไม่ได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าว แต่สาเหตุหลักที่ต้องมีการปรับแก้ ก็เพื่อให้การบริหารงานมีความยืดหยุ่น มีความเป็นธรรมาภิบาล โดยไม่จำเป็นต้องออกนอกระบบ ส่วนที่กังวลว่า กฎหมายฉบับดังกล่าวจะเป็นการไปตีกรอบการทำงานของมรภ. และมทร.นั้น ก็ไม่เป็นความจริง เพราะในขั้นตอนของการปรับแก้ ก็จะต้องเชิญผู้แทนของกลุ่มมรภ.และมทร. เข้าร่วม รวมถึงเปิดรับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนการดำเนินการให้เหมาะสม ทั้งนี้เชื่อว่า หากดำเนินการเรียบร้อยแล้ว กฎหมายฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ และทำให้การบริหารงานของมรภ.และมทร.เกิดความคล่องตัวมากขึ้นอย่างแน่นอน

นายสมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ธัญบุรี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมทร. กล่าวว่า มทร.ทั้ง 9 แห่งเห็นด้วยที่มีการปรับแก้พ.ร.บ.มทร. เพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.การอุดมศึกษาฯ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งเรื่องการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของมหาวิทยาลัย รวมถึงพัฒนาหลักสูตร แก้ปัญหาข้อติดขัดที่เกี่ยวข้องกับระเบียบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ ข้อจำกัดในการทำงานร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องดำเนินการตามระเบียบราชการ ทำให้เกิดความล่าช้า เป็นต้น

“ภาพรวมมทร. ทั้ง 9 แห่งค่อนข้างเห็นด้วย กับการปรับแก้กฎหมายดังกล่าว เพื่อให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับการทำงานในปัจจุบัน ส่วนการออกนอกระบบนั้น หากมหาวิทยาลัยใดที่มีความพร้อม ก็คงต้องดำเนินการต่อเนื่อง อย่างของมทร.ธัญบุรีเอง ดำเนินการยกร่างกฎหมายเพื่อออกนอกระบบไปแล้วค่อนข้างมาก ดังนั้นก็คงต้องดำเนินการต่อไป ส่วนมทร.ใดที่ยังไม่มีความพร้อม ก็รอใช้พ.ร.บ.มทร.ใหม่ ที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับแก้ ซึ่งคิดว่า จะช่วยให้การทำงานมีความคล่องตัว ทันสมัยและช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี “นายสมหมายกล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ pixypatch.com

แทงบอล

Releated